รู้ก่อน ปลอดภัยไว้ก่อน! เพราะการเตรียมตัวเพื่อความปลอดภัยในบ้านเป็นเรื่องที่แสนจะง่ายใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกครอบครัวควรให้ความสำคัญ เพราะอุบัติเหตุ และเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และถ้าเมื่อเกิดขึ้นแล้ว การรู้วิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างมาก เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มต้นปกป้องครอบครัวของเราด้วยเคล็ดลับความปลอดภัยที่ทุกคนในบ้านควรรู้ จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
1. วางแผนเส้นทางหนีไฟ และซ้อมการอพยพเพื่อความปลอดภัย(Plan Escape Routes and Practice Evacuation Drills)
ทุกคนลองนึกภาพตอนเกิดไฟไหม้ หลาย ๆ คนมักจะตกใจจนคิดไม่ออกว่าจะทำอะไรต่อใช่ไหมล่ะ ? นี่แหละคือปัญหาใหญ่ เพราะยิ่งเราตื่นตระหนก ยิ่งเสี่ยงอันตรายมากขึ้น ดังนั้นการวางแผนเส้นทางหนีไฟ และการซ้อมอพยพเป็นทางออกที่ช่วยให้เรารู้ว่า ต้องทำอะไร และไปที่ไหนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
วิธีปฏิบัติ
วางแผนเส้นทางหนีไฟจากห้องต่าง ๆ ในบ้าน เช่น จากห้องนอน ห้องนั่งเล่น และห้องครัว โดยระบุทางออกหลักและทางออกสำรอง
ตรวจสอบ และมั่นใจว่าทุกเส้นทางหนีไฟไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น เฟอร์นิเจอร์หรือของใช้ที่วางขวางทาง
ซ้อมการอพยพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อให้ทุกคนในบ้านคุ้นเคยกับเส้นทางและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
ตกลงจุดนัดพบภายนอกบ้านที่ปลอดภัย (Safe Meeting Point) เพื่อเช็คว่าทุกคนสามารถออกมาได้ครบ
เราสามารถสอนเด็ก ๆ และผู้สูงอายุให้รู้จักวิธีหนีไฟ ในการขอความช่วยเหลือเบื้องต้นได้ เช่น ถ้าต้องเดินผ่านพื้นที่ที่มีควันไฟ ก็ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูกไว้ จะช่วยให้เราหายใจได้ดีขึ้น แถมยังเป็นการป้องกันควันไฟไม่ให้เข้าสู่ร่างกายมากเกินไปด้วย
2. ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องตรวจจับควันไฟ (Install and Maintain Smoke Detectors)
สำหรับการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟ ถือว่าเป็นด่านแรกที่สามารถเตือนให้ทั้งตัวเรา และคนในบ้านได้รู้ถึงการเกิดไฟไหม้ก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต และตัวเครื่องตรวจจับควันจะต้องมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องอีกด้วย
วิธีปฏิบัติ
ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันในทุกห้องนอน บริเวณทางเดิน และห้องครัว เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของบ้าน
ตรวจสอบการทำงานของเครื่องตรวจจับควันเป็นประจำทุกเดือน โดยการกดปุ่มทดสอบเพื่อเช็คว่าระบบยังทำงานได้ดีหรือไม่
เปลี่ยนแบตเตอรี่ทุก ๆ 6 เดือน หรือเมื่อเครื่องส่งสัญญาณเตือนว่าพลังงานใกล้หมด
เปลี่ยนเครื่องตรวจจับควันทุก 10 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรติดตั้งเครื่องตรวจจับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide Detector) ในห้องที่ใช้เครื่องทำความร้อนหรือเตาแก๊ส เพราะก๊าซนี้อันตราย มองไม่เห็นและไม่มีกลิ่น เครื่องตรวจจับจะช่วยเตือนเมื่อก๊าซสะสมเกินระดับปลอดภัย ป้องกันอันตรายและช่วยให้เราขอความช่วยเหลือได้ทันเวลา
3. เรียนรู้วิธีใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกต้อง (Know How to Use a Fire Extinguisher Properly)
การมีถังดับเพลิงในบ้านอย่างเดียวไม่เพียงพอหากไม่รู้วิธีใช้ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความรู้ในการใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกต้องสามารถช่วยหยุดเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่มต้น และป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามจนเกิดความเสียหายมาก
วิธีปฏิบัติ
จัดหาถังดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมกับการใช้งานในบ้าน (เช่น ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือ CO2) และติดตั้งในตำแหน่งที่เข้าถึงง่าย เช่น ห้องครัว ทางเดินหลัก หรือใกล้ห้องนั่งเล่น
เรียนรู้วิธีการใช้ถังดับเพลิงด้วยหลัก “PASS”
Pull: ดึงสลักออก
Aim: เล็งหัวฉีดไปที่ฐานของเปลวไฟ
Squeeze: บีบคันบีบเพื่อปล่อยสารดับเพลิง
Sweep: กวาดหัวฉีดไปมาเพื่อดับไฟให้ทั่วถึง
เราควรที่จะให้ทุกคนในบ้านฝึกซ้อมการใช้งานเพื่อให้คุ้นเคย และสามารถหยิบมาใช้งานได้ทันที และอย่าลืมตรวจสอบถังดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ และเปลี่ยนถังเมื่อสารดับเพลิงหมดอายุ หรือทุก ๆ 5 - 6 ปี ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4. ระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า และปลั๊กไฟ (Electrical Safety Awareness)
เรื่องของไฟฟ้า ถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดไฟไหม้ในบ้านเลยก็ว่าได้ และถ้าเราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไม่ระมัดระวัง ก็สามารถนำไปสู่การลัดวงจรและเพลิงไหม้ได้ เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มองข้ามเลยนะ
วิธีปฏิบัติ
ห้ามเสียบปลั๊กหลายตัวเข้าด้วยกันในเต้าเสียบเดียว (Overloading) เพราะจะทำให้ระบบไฟฟ้าร้อนเกินไป และเกิดการลัดวงจรได้ง่าย
ตรวจสอบสายไฟในบ้านว่ามีการชำรุดหรือเก่าเสื่อมสภาพหรือไม่ และห้ามใช้สายไฟที่มีฉนวนหุ้มแตกหัก
ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานออกเสมอ และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
หมั่นตรวจสอบเบรกเกอร์และระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยควรมีการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าจากช่างผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
จริง ๆ แล้วการติดตั้งเบรกเกอร์นิรภัย (Safety Breaker) จะช่วยป้องกันกระแสไฟเกิน และการลัดวงจรได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรที่จะระมัดระมัด และรอบครอบอยู่เสมอนะ
5. เก็บสารเคมีอันตรายและสิ่งของติดไฟได้ง่ายให้ห่างจากมือเด็ก (Store Flammable and Hazardous Materials Safely)
เราควรเก็บสารเคมี และของที่ติดไฟง่าย เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง สเปรย์ หรือของเหลวไวไฟ ให้มิดชิดและห่างจากมือเด็ก เพราะหากเก็บไม่ดี อาจเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้หรืออุบัติเหตุร้ายแรงได้ เพียงแค่เราจัดการเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบนี้ ก็สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น
วิธีปฏิบัติ
เก็บสารเคมีทุกชนิดในตู้ที่ล็อกได้ และเก็บให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
หลีกเลี่ยงการเก็บวัตถุไวไฟ เช่น น้ำมันสน หรือแอลกอฮอล์ ใกล้แหล่งความร้อนหรือบริเวณที่มีประกายไฟ
จัดเก็บของที่ติดไฟได้ง่ายในภาชนะที่ปิดมิดชิดและมีการติดป้ายเตือนอย่างชัดเจน
ห้ามเก็บสารเคมีอันตรายในภาชนะที่ใช้ซ้ำหรือภาชนะที่คล้ายกับขวดน้ำดื่ม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและอันตรายจากการใช้งานผิดวัตถุประสงค์
เคล็ดลับสำคัญอีกอย่างหนึ่ง หากจำเป็นต้องใช้สารเคมีในบ้านจริง ๆ คือการอ่านและทำความเข้าใจคู่มือการปฏิบัติกรณีเกิดการรั่วไหล รวมถึงวิธีการจัดการเบื้องต้นที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สิ่งนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เราสามารถรับมือได้อย่างมีสติและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
การเตรียมพร้อมล่วงหน้า นั่นคือการป้องกันที่ดีที่สุด
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับความรู้เรื่องความปลอดภัยที่ทุกคนในบ้านควรรู้ เพราะการเตรียมพร้อมล่วงหน้า ถือว่าเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดเลยค่ะ ทุกวันนี้มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นบ่อยมาก ถ้าเรารู้วิธีป้องกันและรับมือไว้ก่อน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้เยอะเลย แถมยังนำไปปรับใช้ได้ในอนาคตอีกด้วย หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับทุก ๆ คนที่เข้ามาอ่านนะคะ จะได้ช่วยกันดูแลความปลอดภัยในบ้านไปด้วยกันนะคะ
The Collective Studio Co., Ltd.
Architecture & Interior Design
Tel. 094 442 4652
Email: collectivetalk@gmail.com
ติดตามข่าวสารและเรื่องราวที่น่าสนใจของพวกเราได้ที่นี่